ย้อนกลับไปเมื่อปี 2553 ท่ามกลางวงสนทนาประสาพี่น้องประกอบด้วย
นายธนเดช ศรีณรงค์ นายปรมินทร์ รังษีธรรม (หลง ลงลาย)
ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและกำลังจะเป็นไปในบ้านเมืองและวิถีทางออกจากความขัดแย้งในฐานะคนไทยเล็กๆกลุ่มหนึ่ง
จึงตกผลึกตรงที่ใช้บทเพลงเป็นอาวุธ ในการขับเคลื่อนกิจกรรม และกลายมาเป็นกิจกรรมต้นแบบภายใต้ชื่อ “มหกรรมคอนเสิร์ตเปิดกำแพงใจ” ณ.ตำบลสะพานหิน จังหวัดภูเก็ต วันที่ 28 สิงหา 2554 โดยใช้ธงชาติเป็นสัญลักษณ์ในกิจกรรม หลังจากงานวันนั้น หลง ลงลาย ก็ได้ประพันธ์เพลงธงชาติขึ้นมา ด้วยเหตุผลที่คิดว่านี่เป็นเพียงสิ่งเดียวที่จะเป็นที่ยึดเหนี่ยวใจของคนไทยเข้าด้วยกันได้ กิจกรรมยังคงดำเนินไป พร้อมพร้อมกับการสร้างต้นกล้าแห่งความดี ทั่วทุกภาคของประเทศ ซึ่งทั้งบทเพลงและกิจกรรมได้รับความสนใจจากทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นจำนวนมาก หลายฝ่ายจึงพยายามถามถึงองค์กร และผู้อยู่เบื้องหลังกิจกรรมทั้งหมด อีกทั้งผู้ใหญ่หลายหลายท่าน เห็นถึงความงดงามและประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อแผ่นดินโดยแท้จริง จึงได้รับคำปรึกษา และแนะนำว่าควรต้องมีองค์กรมารองรับ เพื่อง่ายและสะดวกในการประสานงานเพื่อดำเนินกิจกรรมต่อไปอย่างเป็นรูปแบบ และชัดเจนมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งมูลนิธิเทิดทูนธงไทย